การวิจัยและนวัตกรรมยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม


โครงการการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โครงการการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์โดยภาพรวม 1) เพื่อพัฒนาและยกระดับกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบการค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมและการยอมรับข้อมูลกับกลไกภาคีทั้งในระดับชุมชนและระดับพื้นที่ 3) เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบการส่งต่อความช่วยเหลือให้กับคนจนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึงสวัสดิการภาครัฐ/ ชุมชน/ เอกชน อย่างเป็นรูปธรรม และ 4) เพื่อพัฒนาและยกระดับปฏิบัติการแก้จนระดับอำเภอ พื้นที่ให้ครอบคลุมคนจนเป้าหมาย โครงการวิจัยดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – 2565

ในปี 2563-2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้ดำเนินการโครงการวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดสกลนคร โดยสามารถนำข้อค้นพบจากการวิจัยร่วมปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ได้ทันการณ์ และผลการวิจัยเกิดระบบและกลไกการทำงาน 2 ระบบ คือ 1) ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล ประกอบด้วย ระบบการค้นหาสอบทาน ระบบการส่งต่อความช่วยเหลือ การปฏิบัติการโมเดลแก้จนและ 2) ระบบและกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่บทบาทระดับจังหวัด ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชนและครัวเรือน เพื่อนำสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกันทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ ซึ่งการค้นหาสอบทานครัวเรือนยากจนได้ดำเนินการทั้งสิ้น 10,637 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นปี 2563 (รายชื่อครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. MPI) 18 อำเภอ จำนวน 9,883 ครัวเรือน และปี 2564 สอบทานใน 6 อำเภอ (รายชื่อครัวเรือนยากจนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้นำชุมชน) จำนวน 805 ครัวเรือน แยกตามภูมินิเวศของจังหวัดสกลนคร (อำเภอกุดบาก เมืองสกลนคร โพนนาแก้ว อากาศอำนวย เต่างอย และส่องดาว) โดยข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (PPPCONNEXT) โดยอำเภอกุดบากมีจำนวนคนจนมากที่สุด (จากข้อมูลปี 2562)

โครงการการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนครในปี 2566 เป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System : PPAOS) ที่มีกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด โดยมีระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัด (PPPConnext) ให้เป็นระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนกลางของจังหวัด (Thai People Map ระดับจังหวัด) ที่ใช้ร่วมกัน เพื่อติดตามผลการช่วยเหลือและระบบป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) ที่มีการเชื่อมโยงเข้าสู่สวัสดิการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้คนจน ครัวเรือนคนจน เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต (Pro-poor Value Chain) ในการสร้างโอกาสในการยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ของครัวเรือนยากจน โดยดำเนินการปฏิบัติการโมเดลแก้จน ในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอ ได้แก่ “การยกระดับห่วงโซ่อุปทานระบบการผลิตผักปลอดภัยแบบครบวงจรด้วยกระบวนการบริหารจัดการแปลงรวม” เน้นการผลิตผักปลอดภัยแบบครบวงจรอำเภอกุดบาก และ “การพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” อำเภออากาศอำนวย และอำเภอพรรณนานิคม ตามบริบททุนครัวเรือนและความต้องการของคนจนในแต่ละพื้นที่และจัดทำระบบหนุนเสริมการจัดทำยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัด  ตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งระบบการผลิตโดยบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันการศึกษาและเป็นกลไกกลางของจังหวัดในการเสริมพลังกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนระดับจังหวัด เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับจังหวัดกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ/หรือแผนจังหวัด (One Plan) ผ่านรูปแบบ Poverty Forum ทำให้เกิดการหารือแลกเปลี่ยน พูดคุยประเด็นข้อค้นพบจาการวิจัย สื่อสารสู่การแก้ไขปัญหาทั้งจากระดับนโยบายสู่การปฏิบัติและการปฏิบัติสู่นโยบาย ให้ครัวเรือนสามารถพึ่งพาตนเองได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่งเสริมอาชีพ มีความรู้และทักษะการประกอบอาชีพเกษตรคุณค่าสูง สามารถเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคม เกิดระบบเกื้อกูลชุมชน เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

การวิจัยและนวัตกรรมยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดสกลนคร ได้เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคประชาสังคม และหน่วยงานเอกชน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานและผลักดันเข้าสู่แผนและแนวโยบายของอำเภอและจังหวัด โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้จัดกิจกรรม “คึด นำ กัน” : พลังข้อมูล พลังความคิด ออกแบบชีวิตครัวเรือน ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา ชั้น 3 อาคาร 10 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 80 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มชุมชนร่วมดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมปฏิบัติการโมเดลแก้จน นักวิจัยระดับพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นักวิจัยระดับส่วนกลางจาก บพท. และนักวิจัยระดับเครือข่ายต่างจังหวัด การรวมพลังภาคี “คึด นำ กัน” คาดหวังว่าข้อค้นพบตัวชี้วัดที่สำคัญในครั้งนี้ จะนำไปสู่การออกแบบยุทธศาสตร์ แผนการพัฒนา ตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรม เพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ที่มีเป้าหมายร่วมกันบนฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนเดียวกัน ด้วยการเพิ่มเสถียรภาพทุนดำรงชีพของครัวเรือนยากจน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกิดรูปธรรมขยายผลไปพื้นที่อื่นตามเป้าหมายการพัฒนาขจัดความยากจนภายในปี 2570

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ อำเภออากาศอำนวย และ SDG Move จัดกิจกรรม Poverty Foresight มองภาพอนาคตการแก้จนระดับอำเภอ ที่หอประชุมอำเภออากาศอำนวย นายสุทธิเมศวร์ บุญแสนกุลธวัช นายอำเภออากาศอำนวย ได้พูดคุยการขับเคลื่อนงานแก้จนและต้อนรับทีมนักวิจัย วิทยากร และผู้เข้าร่วมประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย และชาวบ้าน รวม 80 คนนายอำเภออากาศอำนวย  ชูประเด็นปฏิบัติการโมเดลแก้จนหนุนมิติเศรษฐกิจ โดยการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดสกลนคร ความคิดเห็นส่วนใหญ่อยากมีอุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่ ผลักดันสินค้าข้าวเม่า เห็ด หรืออื่น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ทว่า อำเภออากาศอำนวย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มองอีกมุมหนึ่งเป็นศักยภาพสามารถปลูกข้าวได้ทั้งนาปีและนาปรัง หมายความว่าจะมีวัตถุดิบส่งแปรรูปข้าวเม่าได้ตลอดทั้งปี จะช่วยเกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น อีกทั้งชาวบ้านนิยมปลูกข้าวเหนียวซึ่งเป็นวัตถุดิบเดียวที่นำมาทำข้าวเม่าได้

และในวันที่ 19 มกราคม 2567  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ อำเภอกุดบาก และ SDG Move จัดกิจกรรม Poverty Foresight มองภาพอนาคตการแก้จนระดับอำเภอ ณ หอประชุมเทศบาลตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร พบว่า ประชาชนในพื้นที่อำเภอกุดบาก มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน และเอกสารสิทธิ์ในการทำกินในพื้นที่นั้น เนื่องจากพื้นที่ทำกิน คือ เครื่องมือในการประกอบอาชีพของเกษตรกร นอกจากนี้ยังพบประเด็นหนี้สิน และรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ปฏิบัติการแก้จน ด้วยการใช้วิธีการปลูกผักปลอดภัยแบบแปลงรวม จะสามารถสร้างรายได้ต่อวันได้

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำจังหวัดสกลนคร และจัดทำภาพอนาคต (Foresight) ในการแก้ปัญหาความยากจนจังหวัดสกลนคร ระหว่างจังหวัดสกลนคร กับส่วนราชการ และภาคประชาสังคมในจังหวัดสกลนคร โดยมีนาย นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในพิธี และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวต้อนรับ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์โดย ผศ.ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์ รองอธิการบดี และหัวหน้าโครงการการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร


สรุปข้อมูลข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม


ทั้งนี้ การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีส่วนราชการ และภาคประชาสังคมในจังหวัดสกลนคร ร่วมลงนาม ทั้งสิ้น 45 หน่วยงาน พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และส่วนราชการในจังหวัดสกลนคร ร่วมเป็นสักขีพยาน จำนวนทั้งหมด 86 คน ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

หน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวน 45 หน่วยงาน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  จังหวัดสกลนคร  ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร  สำนักงานจังหวัดสกลนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร    สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร  สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสกลนคร   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร  สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร  สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสกลนคร  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสกลนคร  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร  สำนักงานแรงงานจังหวัดสกลนคร  เหล่ากาชาดจังหวัดสกลนคร  สำนักงานสถิติจังหวัดสกลนคร  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร   สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร           สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสกลนคร  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร   สำนักงานพลังงานจังหวัดสกลนคร  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร  สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร  อำเภอกุดบาก  อำเภออากาศอำนวย  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสกลนคร คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสกลนคร  เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดสกลนคร คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) จังหวัดสกลนคร หอการค้าจังหวัดสกลนคร ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสกลนคร ธนาคารออมสิน เขตสกลนคร บริษัทประชารัฐสามัคคีสกลนคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด  สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสกลนคร  สภาองค์กรชุมชนจังหวัดสกลนคร สโมสรโรตารีสกลนคร บริษัท สกลโฮมเซ็นเตอร์ จำกัด  และบริษัทแม่รวยการเกษตร (โก๋แก่) จำกัด สกลนคร


ผลจากการมีส่วนร่วม


สำหรับการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำจังหวัดสกลนครและจัดทำภาพอนาคต (Foresight) ในการแก้ปัญหาความยากจนจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดสกลนครด้วยการบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทุกมิติ ให้กลุ่มครัวเรือนยากจนสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนให้มั่นคงมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พัฒนาศักยภาพ อาชีพและยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ รวมถึงสร้างโอกาสในการยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ของครัวเรือนยากจนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสกลนคร


การนำผลการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน


โดยการมีส่วนร่วมและการยอมรับสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงาน พัฒนายุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับจังหวัด ที่มีเป้าหมายขจัดความยากจนระดับพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้ครัวเรือนยากจนหลุดพ้นความยากจนที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์อำเภอหรือแผนจังหวัด (One Plan) ภายใต้การทำงานร่วมกันของกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัย ส่วนราชการ และภาคประชาสังคมในจังหวัดสกลนคร ได้พัฒนาขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้

  1. สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลครัวเรือนยากจนเพื่อการวิเคราะห์ และประเมินข้อมูลรายครัวเรือน รวมถึงวางแผนการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการ การติดตามครอบครัวครัวเรือนยากจน ซึ่งหมายถึง ครัวเรือนที่มีสภาพปัญหายากจนหลายมิติได้แก่ อาชีพและรายได้ สุขภาพ สภาพและสุขลักษณะของที่อยู่อาศัย การเข้าถึงสวัสดิการ การศึกษา ที่ต้องการความช่วยเหลือ
    จากคนอื่น เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีปัญหาที่อยู่อาศัย ไร้บ้าน ว่างงาน จำเป็นต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มดังกล่าวอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง
  2. สร้างระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการและกลไกของหน่วยงานความร่วมมือในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในหมู่บ้าน และชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาคนทุกช่วงวัย
    ให้สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน ให้สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง
    มีความสุขและยั่งยืน
  3. 3. จัดทำยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับจังหวัด ที่มีเป้าหมายขจัดความยากจนระดับพื้นที่อย่างชัดเจนทำให้ครัวเรือนยากจนหลุดพ้นความยากจน ภายใต้การทำงานร่วมกันของกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่ สำหรับเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของครัวเรือนยากจนและภาคีเครือข่าย การพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  4. สร้างศักยภาพเชิงพาณิชย์ให้กับชุมชน ส่งเสริมการตลาด และส่งเสริมการใช้หลักการ บวร เป็นพลังขับเคลื่อนที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคง มีเสถียรภาพของครัวเรือนยากจน และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ภายใต้เงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลจากคณะกรรมการ การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำจังหวัดสกลนคร หากเกิดปัญหาหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทุกฝ่ายจะร่วมพิจารณาหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
  5. การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและขจัดความยากจนในจังหวัดสกลนคร  ในปี 2563-2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้ดำเนินการโครงการวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดสกลนคร โดยสามารถนำข้อค้นพบจากการวิจัยร่วมปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ได้ทันการณ์ และผลการวิจัยเกิดระบบและกลไกการทำงาน 2 ระบบ คือ 1) ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล ประกอบด้วย ระบบการค้นหาสอบทาน ระบบการส่งต่อความช่วยเหลือ การปฏิบัติการโมเดลแก้จนและ 2) ระบบและกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่บทบาทระดับจังหวัด ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชนและครัวเรือน เพื่อนำสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกันทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ ซึ่งการค้นหาสอบทานครัวเรือนยากจนได้ดำเนินการทั้งสิ้น 10,637 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นปี 2563 (รายชื่อครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. MPI) 18 อำเภอ จำนวน 9,883 ครัวเรือน และปี 2564 สอบทานใน 6 อำเภอ (รายชื่อครัวเรือนยากจนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้นำชุมชน) จำนวน 805 ครัวเรือน แยกตามภูมินิเวศของจังหวัดสกลนคร (อำเภอกุดบาก เมืองสกลนคร โพนนาแก้ว อากาศอำนวย เต่างอย และส่องดาว) โดยข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (PPPCONNEXT) โดยอำเภอกุดบากมีจำนวนคนจนมากที่สุด
  6. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยทักษะวิศวกรสังคมเพื่อนำสู่การพัฒนาพื้นที่ร่วมกับชุมชน

นักวิจัยโมเดลแก้จน “คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” นำนักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดกิจกรรมจิตอาสาเกี่ยวข้าวพันธุ์ 2 วัน 1 คืน ร่วมกับชาวบ้านดงสาร ณ แปลงปลูกข้าวพันธุ์ บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 27-28 ตุลาคม 2566 หลังจากจิตอาสาดำนาพันธุ์ไปแล้วช่วงเดือนกรกฎาคม บัดนี้ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วเพื่อเป็นการรู้เห็นคุณค่าความลำบากและแนวทางการแก้ไขปัญหาในระหว่างการทำนา ชาวบ้านดงสารได้เชิญนักวิจัยและนักศึกษามาลงแขกเกี่ยวข้าวในครั้งนี้ ดังนั้นถนนสายวิจัยแก้จนจึงมุ่งหน้าเข้าสู่ “เส้นทางนางฟ้า” ปลายทางบ้านดงสาร ถือได้ว่าเป็นการ “ตามปลูก ตามเก็บ” บ้านดงสารมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับนักศึกษาวิศวกรสังคม ในระหว่างการเกี่ยวข้าวผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนสถานการณ์จริง เช่น การคัดต้นข้าวปน(ข้าวหมาแหง่ง) การเกี่ยวข้าวมัด เป็นต้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานจนลืมความเหนื่อยล้า ไม่นานก็เก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ประมาณ 5 ไร่เสร็จสิ้นด้านชาวบ้านดงสารประเมินว่าจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมุกดาประมาณ 2,000 กิโลกรัม ขั้นตอนต่อไปเป็นกระบวนการคัดเมล็ดพันธุ์ประมาณ 1 เดือน ก่อนจะวางแผนกระจายให้สมาชิกประมาณ 50 คน ลงปลูกนาปรังพื้นที่ทุ่งพันขันต่อไป

ส่วนนักวิจัยโมเดลแก้จน “คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” ให้ข้อมูลว่า กิจกรรมดังกล่าวได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้าถึงปัญหาต่างๆ ที่จริงแล้วขั้นตอนที่เรากำลังแก้ปัญหาคือการกลับไปรื้อฟื้นวิถีการทำนาแบบเดิม ซึ่งชาวบ้านได้ข้ามขั้นตอนสำคัญหลายอย่างไปโดยเฉพาะการเลือกเมล็ดพันธุ์ และการปักดำหรือการหว่าน มีปัจจัยสำคัญมาจากขาดแรงงาน และต้นทุนสูงหลังจากนี้นักวิจัยและชาวบ้านจะร่วมกันออกแบบเลือกใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่และชุมชนใช้เป็น พร้อมกับเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามลำดับ ในฤดูทำนาปรังช่วงเดือนธันวาคมนี้ ดังนั้นโมเดลแก้จนคลังเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงสาร จะเป็นตัวกลางศูนย์รวมองค์ความรู้ ธรรมนูญชุมชน เทคโนโลยี นวัตกรรม ชนิดพันธุ์ข้าวพื้นถิ่น กองทุน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของบ้านดงสาร โดยชุมชนเป็นเจ้าของธุรกิจ

©2024 RDI.SNRU.AC.TH. ALL RIGHTS RESERVED.