บพท. ประกาศรับข้อเสนอชุดโครงการวิจัย ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) ประจำปี 2564 “มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่” กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่”

หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย
ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) ประจำปี 2564 “มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่”

กรอบการวิจัย “

การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่”
Program 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ


กรอบการวิจัยและประเด็นโจทย์ที่ให้ความสำคัญ

โจทย์ เป้าหมาย
1) การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดที่แท้จริงอย่างยั่งยืน และเกิดการจ้างงานในชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน

2) กระบวนการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตราฐานสินค้าแข่งขันได้ในตลาดที่แท้จริง และมีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Network Value Chain) เพื่อให้เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่เกษตรกรผู้ผลิต/ผู้ผลิตต้นน้ำอย่างเป็นธรรม (Fairtrade)

–          300 กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่(กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/OTOP/Local SMEs/S.E. ในระดับพื้นที่)

–          อัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก /เศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย บนฐานทุนทรัพยากร/วัฒนธรรมในพื้นที่ และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 10

–          สร้างผู้ประกอบการในชุมชน/รุ่นใหม่เพื่อยกระดับการผลิตที่มีมาตรฐาน ไม่น้อยกว่า 50 ผู้ประกอบการ

 คำอธิบาย

สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่เสนอข้อเสนอชุดโครงการวิจัยทำทั้ง 2 โจทย์และต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของทรัพยากร/วัตถุดิบพื้นถิ่น และเสนอแผนการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อย่างชัดเจน โดยสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจต้องเสนอการวิจัยไม่น้อยกว่า 10 กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และมีกระบวนการวิจัยให้เกิดการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ที่มีการกระจายรายได้อย่างมีธรรมาภิบาล (Fairtrade) ตั้งแต่ต้นน้ำจนกระทั่งถึงปลายน้ำ

คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้เสนอขอรับทุน
1.
ป็นทุนระดับสถาบัน ผู้มีสิทธิเสนอขอรับทุน คือ อธิการบดีหรือผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี/หัวหน้าหน่วยงาน และมีการมอบหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระดับสถาบัน/มหาวิทยาลัย ที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยร่วมกับ บพท.
2.สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจสามารถเสนอข้อเสนอชุดโครงการวิจัยได้เพียง 1 ชุดโครงการวิจัย
3.เป็นสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งหรือพื้นที่บริการอยู่ในจังหวัดเป้าหมายของการดำเนินงานวิจัย หากเป็นสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย/หน่วยงานภายนอกพื้นที่เป้าหมายต้องมีการมีส่วนร่วมและมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย/หน่วยงานวิชาการในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น

ช่วงเวลารับข้อเสนอ  22 ธันวาคม 2563 –  21 มกราคม 2564  เวลา 17.00 น. (หน่วยงานต้นสังกัดรับรองภายในวันที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 17.00 น. )

ช่องทางการยื่นข้อเสนอฯ  ผ่านระบบ NRIIS (http://nriis.nrct.go.th/)


ข้อมูลเพิ่มเติม    เว็บไซต์หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่ https://www.nxpo.or.th/A และผ่านทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/PMUA.THAI

 

ทั้งนี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมชี้แจงเป้าหมายของแผนงานและตอบข้อซักถามแก่ผู้สนใจ ในวันที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านระบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ZOOM  ท่านสามารถลงทะเบียนและส่งข้อซักถามล่วงหน้าได้ทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/PMUA.THAI

 

หมายเหตุ 
– สถาบันต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการทำการรับรองข้อเสนอแผนงาน/โครงการวิจัย ผ่านระบบ NRIIS ภายในวันที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 17.00 น. 
และทาง บพท. จะพิจารณาข้อเสนอโครงการที่ผ่านการรับรองจากมหาวิทยาลัยภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น)
-หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาเฉพาะเอกสารต้นฉบับที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามเงื่อนไข และสถาบันต้นสังกัดหัวหน้าโครงการทำการรับรองข้อเสนอโครงการวิจัยในเวลาที่กำหนดและหากพ้นกำหนดจะถือว่าเป็นโมฆะ

 

ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง :
คู่มือนักวิจัย PMU A ( ธค 2563).pdf
บพท. ประกาศทุน64 มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ กรอบ Local Enterprise P13.pdf
แบบฟอร์มขอทุนวิจัยปี 64 สำหรับ Local Enterprise.docx