โครงการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 10
“วิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ สานสู่ความสำเร็จของสถาบันการศึกษาอย่างยั่งยืน”
ระหว่าง วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2561
ณ อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ และ อาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพล้านช้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
1. ชื่อโครงการ
การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 10
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการจัดประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ร่วมกับที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) และเครือข่ายวิจัยบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
3. ความเป็นมา
การประชุมวิชาการวิจัยสายสนับสนุนจัดขึ้นครั้งแรก ในปี 2552 การจัดการประชุมเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา รวมตัวกันเป็นเครือข่ายโดยได้รับการร่วมมือสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายวิจัยบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา และที่ประชุมสภาข้าราชการพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ในการจัดประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัย โดยที่ผ่านมามีการดำเนินการจัดประชุมโดยสถาบันการศึกษาทั้งสิ้น 9 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 3 เมษายน 2552 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
- ครั้งที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2553 ณ โรงแรมตะวันนา กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 3 กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2554 ณ โรงแรมตักศิลา จังหวัดมหาสารคาม
- ครั้งที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 4 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
- ครั้งที่ 5 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 4 เมษายน 2556 ณ โรงแรมพลูแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 6 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 4 เมษายน 2557 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
- ครั้งที่ 7 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2558 ณ ชาโต เดอ เขาใหญ่ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- ครั้งที่ 8 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2559 โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
- ครั้งที่ 9 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2560 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. หลักการและเหตุผล
บุคลากรสายสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสถาบัน ให้บรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของสถาบัน บุคลากรสายสนับสนุนที่ประสิทธิภาพ จะช่วยประสานการบริหารงานของผู้บริหาร วิเคราะห์ และนำเสนองาน ตลอดจนสนับสนุนวิชาการและงานต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ บุคลากรสายสนับสนุนจึงต้องมีการพัฒนาทักษะการทำงานตลอดจนพัฒนางานของตนอย่างต่อเนื่อง
การวิจัยเพื่อพัฒนางานเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสวงหาความรู้และวิธีการที่จะแก้ปัญหาหรือปรับปรุงพัฒนางานโดยใช้วิธีวิทยาวิจัยที่เหมาะสมเพื่อนำผลมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้โดยตรง ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้แก่บุคคลอื่นในสถาบัน เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบการทำงาน เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อวางแผนตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถาบัน นอกจากนั้นกระบวนการพัฒนางานโดยการวิจัยยังใช้เป็นกลไกหนึ่งการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันได้อีกด้วย
เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรมีการพัฒนางานและพัฒนาตนไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันการศึกษาอย่างยั่งยืน ประกอบกับขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างแพร่หลาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จึงเห็นสมควรจัดการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 10 เพื่อเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัยหน่วยงานของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
5. วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการส่งเสริมบุคลการสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาให้ใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนา
- เพื่อสร้างความตระหนักในการพัฒนาตนและพัฒนางานของบุคลากรสายสนับสนุน
- เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อพัฒนางานของบุคลากรสายสนับสนุนในระดับประเทศ
- เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนเป็นสถาบันอุดมศึกษา
6. วัน เวลา และสถานที่
วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2561 ณ อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ และ อาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพล้านช้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
7. ผู้เข้าร่วมประชุม
- ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา
- บุคลากรสายสนับสนุน/สายปฏิบัติการในสถาบันอุดมศึกษา
- ผู้สนใจทั่วไป
8. รูปแบบการประชุม
การบรรยายและเสวนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนจากหน่วยงานของชุมชนนักปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานของผู้เข้าประชุมฯ แบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ (มีรางวัลการนำเสนอผลงาน เช่น ประกาศนียบัตร โล่)
9. การสมัครเข้าร่วมประชุม
- แบบ Online
- กำหนดการเปิดรับสมัคร 1 กันยายน 2560
- กำหนดการปิดรับสมัคร
- สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561
- สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ไม่นำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561
10. ค่าลงทะเบียนและวิธีการชำระเงิน
- คนละ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) ชำระภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561
- วิธีการชำระเงินค่าลงทะเบียน
- โอนค่าลงทะเบียน ผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เลขที่บัญชี 644-0-303-300
- แจ้งชำระเงินค่าลงทะเบียนได้ที่ https://research.srru.ac.th/nacp2018/index.php/payment
- ติดต่อขอรับใบเสร็จรับเงินได้ ณ จุดรับลงทะเบียน
11. การเสนอผลงาน
- รูปแบบการเสนอผลงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- กลุ่มวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- การนำเสนอ
- บรรยาย (Oral Presentation)
- นำเสนอเป็นภาษาไทย 15 นาที (บรรยาย 10 นาที ซักถาม 5 นาที)
- แบบโปสเตอร์
- จัดทำโปสเตอร์ (ขนาดกว้าง 80 ซม x 120 ซม.)
- ส่งบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
12. เว็บไซต์และรายละเอียดการจัดประชุมวิชาการ
https://research.srru.ac.th/nacp2018
13. วิทยากร
- บรรยายพิเศษ เรื่องการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ท้ายเรือคำ
- เสวนา หัวข้อ “การวิจัยพัฒนางาน เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ” โดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง สรญา แก้วพิทูลย์ และ ดร. จรงค์ศักดิ์ พุมนวน
14. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงาน
คณะกรรมการที่แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงาน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
15. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- บุคลากรสายสนับสนุนมีเวทีในการเผยแพร่นำเสนอผลงานวิจัยหน่วยงาน
- บุคลากรสายสนับสนุนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกิดชุมชนนักปฏิบัติ
- เกิดเครือข่ายวิจัยหน่วยงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
- มีเวทีนำเสนอผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาหน่วยงานของบุคลากรสายสนับสนุนในระดับประเทศ