กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practice การวิจัยและบริการวิชาการสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยงานวิจัยและบริการวิชาการ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practice การวิจัยและบริการวิชาการสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 และ 18 – 21 กรกฎาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยเชิงพื้นที่ การจัดการความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น เกษตรมูลค่าสูงจากโคเนื้อ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนบ้านท่าเยี่ยม บ้านท่าเยี่ยม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร วิทยากรผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย 1) รศ.ดร.หาญชัย อัมภาผล 2) น.สพ.จักรพรรดิ์ ประชาชิต และ 3) นายสันต์ศิลป์ ยาสาไชย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนบ้านท่าเยี่ยม

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น สถานศึกษาสร้างการเรียนรู้ สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ณ โรงเรียนหนองหลวงศึกษา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร วิทยากรผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย 1) ผศ.ดร.ภัทรดร จั้นวันดี และ 2) ดร.ภิญโญ ทองเหลา ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองหลวงศึกษา

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น Street art คุ้มกลางธงชัย “เมืองเก่าสกลนครสู่เมืองสร้างสรรค์เพื่อส่งต่อและอนุรักษ์สู่คนรุ่นใหม่” ณ ชุมชนคุ้มกลางธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร วิทยากรผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย 1) อาจารย์ ดร.พสุธา โกมลมาลย์ 2) อาจารย์กิติมา ขุนทอง และ 3) นายทาสาร อริยชาติ ประธานชุมชนคุ้มกลางธงชัย

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น การจัดระบบการผลิตพืชผักแบบครบวงจรเพื่อการยกระดับรายได้  “สกลนครโมเดล” ณ วิสาหกิจชุมชนสวนป่าอินทรีย์ท่าศรีไคลใหม่ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร วิทยากรผู้ร่วมแลกเปลี่ยน 1) อาจารย์ ดร.พิจิกา ทิมสุกใส และ 2) นายถนอม แสนดวง ประธานวิสาหกิจชุมชนสวนป่าอินทรีย์ท่าศรีไคลใหม่

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจ ในการร่วมแลกเปลี่ยนจาก พี่น้องในชุมชน สมาชิกกลุ่ม คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งจะเป็นแกนนำสำคัญในการขยับและเคลื่อนงานการวิจัยและบริการวิชาการ สู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ในอนาคต ต่อไป