นักวิจัย : อาจารย์กาญจนาภรณ์ นิลจินดา และคณะ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ
แนวคิดที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้
สกลนครเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่ได้รื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าย้อมคราม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำผลิตภัณฑ์ผ้าครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสู่ระบบตลาดผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์ผ้าครามเป็นผลิตภัณฑ์ของดีเมืองสกลนคร และอำเภอที่มีผู้ผลิตผ้าย้อมครามเพื่อการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คือ อำเภอพรรณานิคม และกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านนาขาม แต่ปัญหาที่พบคือ ทางกลุ่มฯ ยังไม่มีการพัฒนาเรื่องของบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์เฉพาะ บรรจุภัณฑ์ของทางกลุ่มฯ ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ทั่วไปไม่มีองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้ทอผ้าฝ้ายบ้านนาขามยังไม่ได้รับผลประโยชน์ด้านรายได้อย่างเต็มที่เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าคราม จึงได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านนาขาม
ผลการดำเนินงาน
1. บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าครามที่เหมาะสมสำหรับเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านนาขาม โดยมีองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ครบถ้วน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเป็นเอกลักษณ์ของบ้านนาขาม จำนวน 1 บรรจุภัณฑ์ คือบรรจุภัณฑ์รูปแบบกล่องกระดาษ
2. ผู้บริโภคมีความพึงพอใจมากที่สุด ผลการยอมรับเฉลี่ยร้อยละ 4.42 ทั้งในด้านแนวคิดที่สื่อถึงเอกลักษณ์ การออกแบบ รูปลักษณ์ รูปทรง การใช้สีของบรรจุภัณฑ์ การจัดวางตัวอักษร ข้อความ ภาพประกอบกราฟิก ด้านการขนส่ง การปกป้องผลิตภัณฑ์ ภายใต้แนวคิดต้องการสื่อถึงเอกลักษณ์ของลายผ้าดั้งเดิมของอำเภอพรรณานิคม คือลายพร้าว และลายสกลธรรม
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
ด้านชุมชนและพื้นที่
บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าครามที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านนาขาม ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้าครามก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนที่เพิ่มขึ้น