ห่วงโซ่มูลค่าปลานิลในจังหวัดสกลนคร


นักวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผู้ร่วมวิจัย :
ชนกนันท์ ศรีลาพัฒน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นราวุธ ระพันธ์คำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ภรภัทร ไชยสมบัติ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณนภา หาญมนตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ลัดดาวัลย์ เลิศจันทึก คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิระวรรณ ระยัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเขต 3 (สกลนคร)


แนวคิดที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้


การเข้าใจในธุรกิจการเพาะเลี้ยงและการตลาดปลานิลมีความสำคัญอย่างมากต่อเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลดต้นทุน ลดความเสี่ยง ขยายตลาด และเพิ่มมูลค่าของกิจการ แต่งานวิจัยที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงและการตลาดปลานิลทั้งระบบหรือทั้งวงจรในพื้นที่จังหวัดสกลนครเลย ทั้งที่ในปัจจุบันได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาเชิงระบบที่สามารถวิเคราะห์การดำเนินงานของธุรกิจทั้งระบบได้ แนวคิดดังกล่าวคือ แนวคิดห่วงโซ่มูลค่าหรือห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กิจกรรมทั้งหมดในการผลิตสินค้าและบริการ รวมไปถึงการวิเคราะห์กระแสการไหลของสินค้า กระแสเงิน และกระแสของข้อมูลข่าวสารในแต่ละขั้นตอนการผลิต โดยมีเป้าหมายคือ การเพิ่มมูลค่าของสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบ (raw material) สำหรับการผลิตที่เพิ่มเป็นทอด ๆ หรือเป็นห่วงโซ่ตั้งแต่การผลิตต้นทางในแต่ละช่วงจนกระทั่งแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป (finished goods) และการยกระดับห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมดของธุรกิจการเพาะเลี้ยงและการตลาดปลานิลให้สูงขึ้น และเมื่อรวมถึงการวิเคราะห์ทางการตลาดของธุรกิจ จะทำให้สามารถได้คำตอบสำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจการเพาะเลี้ยงและการตลาดปลานิล โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงและการตลาดปลานิลในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแหล่งเพาะเลี้ยงปลานิลจำนวนมากและมีความต้องการบริโภคสูง


ผลการดำเนินงาน

1. การจำหน่ายปลานิลของเกษตรกรในจังหวัดสกลนครมี 4 ช่องทาง ดังนี้

(1) เกษตรกร ➡  ผู้ค้าท้องถิ่น ➡  ผู้บริโภค
(2) เกษตรกร ➡ ผู้ค้าส่ง ➡ ผู้ค้าปลีก ➡ ผู้บริโภค
(3) เกษตรกร ➡ ผู้ค้าปลีก ➡ ผู้บริโภค
(4) เกษตรกร ➡ ผู้บริโภค

2. ส่วนเหลื่อมทางการตลาดปลานิลในจังหวัดสกลนคร

3. การไหลของสินค้าปลานิล การไหลของเงิน และการไหลของข้อมูลในจังหวัดสกลนคร


การนำผลงานไปใช้ประโยชน์


ด้านสาธารณะ

สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลานิลห้วยดินดำ ได้นำผลงานวิจัยเรื่องห่วงโซ่มูลค่าปลานิลในจังหวัดสกลนคร ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการผลิตปลานิลและการตลาดปลานิล อีกทั้งนำไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพทางการเกษตรอย่างอื่น อาทิเช่น ปลูกข้าว ปลูกยางพารา เลี้ยงกบ เลี้ยงวัว เป็นต้น


อ้างอิง

ทุนสนับสนุนการวิจัย สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2562