นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ และนางสาวอรดี พลาโฮม
คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
แนวคิดที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของขนาดความซับซ้อนส่งผลต่อลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่เป็นตัวเชื่อมของสิ่งแวดล้อมและลักษณะของภูมิประเทศ และส่งผลต่อความอ่อนแอของประชาชนในพื้นที่ โดยส่งผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์และระบบกายภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้ (McMichael et al. 2006) การเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสุขภาพจากภาวะอากาศเป็นพิษ ซึ่งจะนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Bernard et al. 2001) ผลของความร้อนและคลื่นความร้อน ในทางอ้อมยังส่งผลต่อการเกิดโรคและสภาวการณ์ขาดสารอาหารที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการปลูกพืชซึ่งใช้น้ำเป็นปัจจัยการผลิตส่งผลต่อภาวะสุขภาพ จึงควรมีนโยบายที่ชัดเจน จะช่วยให้มีการปรับตัวได้มากขึ้นและมีแผนรองรับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Huntingford et al. 2007) การร้อนขึ้นของอุณหภูมิของโลกนำไปสู่อันตรายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงโรคติดเชื้อ ผลกระทบที่เกิดขึ้น อยู่กับการประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และผู้ที่เป็นแหล่งโรค การขาดแคลนอาหาร ส่งผลถึงความต้านทานต่อโรค ที่สำคัญอย่างยิ่งมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจและการเมือง
ผลการดำเนินงาน
1) ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภูมิอากาศใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสกลนคร
2) ได้เว็บไซต์การเตือนภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภูมิอากาศสำหรับการเตือนภัยใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสกลนคร จำนวน 1 เว็ปไซต์ (http://physic.sci.snru.ac.th/?fbclid=IwAR2dO9UfwJVUWKC1Hucsd2JKnqk76y88k-YI2qbIxCWrD9Q0z-P3AoTqOTU)
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
ด้านนโยบาย
เว็บไซต์การเตือนภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภูมิอากาศสำหรับการเตือนภัยใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสกลนคร ใช้ในการในการวางแผนการจัดการด้านการเกษตร และผลที่เกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพมีความแตกต่างกันออกไปในแต่อำเภอที่ เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนวิธีคิด พฤติกรรม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชานชนสร้างสังคมคุณภาพ และส่งคุณภาพสิ่งแวดล้อม
อ้างอิงข้อมูลจาก
โครงการวิจัย : การเตือนภัยสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 10 อำเภอของจังหวัดสกลนคร
หัวหน้าโครงการ : นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. วิลาวรรณ์ คำหาญ คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
สนับสนุนโดย : ทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562